เอ้กบอร์ดไฟเขียวจ่าย “ดอกเบี้ยเงินกู้” ให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ไข่ 3%

เอ้กบอร์ดไฟเขียวจ่าย "ดอกเบี้ยเงินกู้" ให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ไข่ 3%
06 ไป 2566

“เอ้กบอร์ด” เติมสภาพคล่องให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ เคาะดอกเบี้ยเงินกู้ 3% ที่จำเป็น 6 เดือนกำหนดขอบเขตไม่เกินรายละ 1.5 แสนบาทสำนักงานสำหรับการค้าภายในยันไข่ไม่มีตลาดขาด ปริมารณออกสู่ตลาดพิจารณา 43.99 ล้านฟองเดย์

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ครั้งที่ 2/2566 โดยมีนายอภัย สุทธิสังข์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมว่า ที่ประชุม Egg Board มีมติเห็นชอบ 3 วาระ ประกอบด้วย

1.โครงการชดเชยดอกเบี้ยเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ปี 2566 และมอบหมายให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงานในการประชุม Egg Board ครั้งต่อไป

สำหรับการดำเนินการรัฐบาลจะชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตร กรผู้เลี้ยงไก่ไข่ที่กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารของรัฐที่มีการกู้ยืมเพื่อใช้ในการเลี้ยงไก่ไข่ในอัตรา 3% ต่อปี ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ย 6 เดือน วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท ชดเชยดอกเบี้ยรายละไม่เกิน 1.5 แสนบาท

โดยให้เริ่มโครงการตั้งแต่เดือนก.ย.66-ม.ค.67คาดว่าจะส่งผลให้ลดต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ที่เข้าร่วมครงการเมื่อเปรียบเทียบกับผู้เลี้ยงทั่วไปและสามารถบรรเทาด้านต้นทุนให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ สามารถดำรงอาชีพอยู่ได้

เอ้กบอร์ดไฟเขียวจ่าย "ดอกเบี้ยเงินกู้" ให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ไข่ 3%

2. ประสิทธิภาพการผลิตไก่ไข่และไข่ไก่ ปี 2567 เนื่อง จากปัจจุบันสายพันธุ์ไก่ไข่ได้พัฒนาให้มีความก้าวหน้า มีระบบการบริหารจัดการฟาร์ม รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีในการผลิตไก่ไข่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยกรมปศุสัตว์ได้พิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตไก่ไข่และไข่ไก่ ปี 2567 ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ ดังนี้

2.1 ปู่ย่าพันธุ์ไก่ไข่ (GP) 1 ตัว ผลิตลูกพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ได้ 77 ตัว ปลดที่อายุ 72 สัปดาห์

2.2 พ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) 1 ตัว ผลิตลูกไก่ไข่เพศเมียได้ 107 ตัว ปลดที่อายุ 72 สัปดาห์

2.3 แม่ไก่ยืนกรง 1 ตัว ผลิตไข่ไก่ได้ 361 ฟอง ปลดที่อายุ 80 สัปดาห์

3.แผนปฏิบัติการด้านไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2567-2571) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 โดยกรมปศุสัตว์ได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการรายชนิดสินค้าปศุสัตว์ทุก ๆ 5 ปี เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบและมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการเชิญผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรม ร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการด้านไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2567-2571) ก่อนขอความเห็นชอบต่อ Egg Board ในการใช้เป็นแผนขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า กรมฯ ได้มีการติดตามสถานการณ์การผลิตและภาวะการค้าไข่ไก่ ทั้งระดับค้าส่งและค้าปลีกอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด รวมถึงได้หารือร่วมกับกรมปศุสัตว์และองค์กรผู้เลี้ยงไก่ไข่มาโดยตลอด ปรากฏว่าปริมาณไข่ไก่ ขณะนี้ออกสู่ตลาดประมาณ 43.99 ล้านฟองต่อวัน เพียงพอต่อการบริโภคที่เฉลี่ยประมาณ 42.47 ล้านฟองต่อวัน จึงไม่เกิดปัญหาการขาดแคลน

โดยปัจจุบันราคาไข่ไก่เบอร์ 3 ทั่วประเทศ เฉลี่ยฟองละ 4.32 บาท ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในภาคเหนือ และภาคอีสาน เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับราคาไข่ไก่ทุกเบอร์ ทั้งขายส่งและขายปลีก ณ ตลาด กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทรงตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2566 หลังจากราคาไข่คละหน้าฟาร์มปรับขึ้น 0.20 บาทต่อฟอง จาก 3.80 บาทต่อฟอง เป็น 4.00 บาทต่อฟอง เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

สำหรับการปรับขึ้นราคาไข่ไก่คละหน้าฟาร์ม เป็นผลมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยต้นทุนการผลิตไข่ไก่ที่ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการต้นทุนการผลิตไก่ไข่และไข่ไก่ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิต ภัณฑ์ (Egg Board) เดือนกันยายน 2566 เพิ่มขึ้น 13% จากต้นทุนเฉลี่ยปี 2565

โดยต้นทุนด้านอาหารสัตว์มีสัดส่วน 74% ของต้นทุนทั้งหมด รวมทั้ง จากสภาพอากาศร้อนจัด ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของไก่ไข่ ไก่ไข่กินอาหารน้อยลง ทำให้ผลผลิตไข่ไก่ลดลงประมาณ 10-20% และมีขนาดเล็ก โดยไข่ไก่ส่วนมากจะเป็น เบอร์ 3-5 สัดส่วน 50% จากเดิม 30%

สำนักงานตรวจสอบภายในสามารถตรวจสอบและติดตามสถานการณ์ราคาไข่ไก่วิจารณ์มาโดยตลอดหากพบ… ผิดความผิดตามมาตรา 29 พ.ร.บ. ด้วยราคาสำหรับ พ.ศ.2542 มีโทษปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือตลอดชีวิตไม่เกิน 7 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ

About Author